ถนนพระราม 2

ถนนพระราม 2

‘รศ.ดร.สุทธิศักดิ์’ อธิบายชัดๆ ทำไมถนนพระราม 2 สร้างยากและสร้างนาน! ถนนพระราม 2 29 ก.พ.2567 – รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์รูปและเนื้อหาในหัวข้อ “ถนนพระราม 2 ทำไมถึงสร้างยาก เเละสร้างนานจริงหรือไม่” ระบุว่า ถ้าพูดว่าสร้างยากก็เห็นจะจริง เพราะชั้นดินที่เป็นดินฐานรากของถนนนั้น เป็นดินเหนียวอ่อนที่ตกตะกอนใหม่ในช่วงท้ายๆของยุคที่กรุงเทพฯยังเป็นทะเล เเละน้ำทะเลค่อยๆลดระดับลง จนเกิดตะกอนดินเหนียวอ่อนที่มีความอ่อนเเละหนาที่สุดเเห่งหนึ่งในประเทศ สังเกตได้ง่ายๆ คือริมถนนด้านที่ติดกับทะเล บางพื้นที่ยังมีลักษณะของป่าชายเลนให้เห็นอยู่ นั่นคือสภาพเดิมๆดังนั้น เมื่อนำดินไปถมบดอัดขึ้นมาเป็นถนน ซึ่งถึงเเม้จะบดอัดดินตัวถนนดีอย่างไร เเต่ดินเหนียวอ่อนใต้ฐานรากยังคงอ่อนอยู่ จึงทำให้ถนนเกิดการทรุดตัวจมลงในดินฐานรากอย่างมากหลังจากก่อสร้างเสร็จ จึงนำมาสู่ประเด็นที่สองคือ ถนนสร้างนานจริงหรือไม่ ซึ่งถ้ามองอย่างเป็นธรรมก็คงพูดไม่ได้ว่าสร้างนาน เเต่ด้วยเพราะเมื่อสร้างไปเเล้วก็ทรุดตัว ปล่อยไปนานๆน้ำก็เริ่มจะท่วมเพราะถนนทรุดตัวต่ำกว่าระดับน้ำท่วมถึง ดังนั้นก็ต้องมีการซ่อมโดยการบดอัดถนนยกระดับขึ้นไป ซึ่งเนื่องจากเป็นถนนที่มีความยาว ประกอบกับเปิดการจราจรให้เป็นเส้นหลักลงภาคใต้ไปเเล้ว ก็เลยไม่สามารถปิดถนนทั้งหมดทีเดียวเเล้วซ่อมได้ ก็เลยต้องซ่อมเป็นช่วงๆต่อเนื่องไป ทำให้เหมือนถนนยังสร้างไม่เคยเสร็จ เพราะพอถมเเล้วทรุดหายไปเรื่อยๆ (รูปที่ 1 ผมถ่ายตอนปี 2008 ขณะที่มีการถมยกระดับถนนขึ้น จะเห็นระดับถนนเก่าที่ทรุดลงไปเทียบกันถนนใหม่ที่ถมยกระดับขึ้นมา) ทั้งนี้ หากมองถนนที่อยู่ทิศตรงข้ามกัน […]